วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บ้านพระเครื่อง
มีพระเครื่องหลากหลายคณาจารณ์ ทั่วประเทศ

ทำไม ต้องชอบพระเครื่อง ??

พี่ๆ ที่บริษัทหรือ หลายๆ คน ชอบถามผม



ไม่ได้มาจากความคิดของตัวเองแต่ขอแชร์เพื่อเป็นคำตอบแก่ทุกๆท่า



สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ วันเสาร์ที่ ๓๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๓



โบ ราณาจารย์ท่านมีปัญญา ท่านฉลาดมาก ท่านสอนให้เรายึดในพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ คือ ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยการสร้างวัตถุมงคลขึ้นมา ให้เราปฏิบัติกรรมฐานใหญ่โดยที่เราไม่รู้ตัว ท่านให้เราอาราธนาทุกวัน โดยระลึกถึงทุกวันเป็นอนุสติอยู่ แล้วมีข้อกำกับว่า ถ้าหากว่าศีลบริสุทธิ์ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ ก็จะมีอานุภาพคุ้มครองเราได้ระดับหนึ่ง ที่ไม่เกินกฎของกรรม เพื่อเป็นอนุสติ เพื่อเป็นการปฏิบัติ เพราะไม่ว่าการเดินทางไปในที่ใดก็ตาม ถ้ามีสิ่งให้ยึดให้เกาะก็จะปลอดภัยมากกว่า

การปีนเขาก็ดี การขึ้นบันไดก็ดี ถ้ามีที่ให้ยึดให้เกาะ ก็จะปลอดภัยกว่าคนที่ไม่ยอมยึดไม่ยอมเกาะ จำไว้ว่าเราต้องยึดก่อน เราถึงจะมีสิ่งที่ปล่อยวางได้ ถ้าเราไม่ยึดก่อนจะเอาอะไรมาวาง ทุกคนที่บอกว่าอนัตตา ๆ ไม่เอาอะไร ๆ นั้น ไม่เอาอะไรแล้ว เขายึดถือตัวไม่เอาอะไร ยึดคำว่าอนัตตานั้นแหละ

จำไว้ว่า ถ้ายังไม่มีอัตตาก็จะหาอนัตตาไม่ได้ จะต้องมีอัตตาขึ้นมาก่อน ถึงจะวางลงเป็นอนัตตาได้ เหมือนกับที่เราขึ้นมาบนห้องนี้ เราเดินขึ้นบันได เราเกาะบันไดมาด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาทตามคำที่พระพุทธเจ้าท่านสอน พอเราเดินมาถึงหน้าประตู เปิดประตูเข้ามา เราได้แบกราวบันไดเข้ามาหรือไม่ ? เราก็ไม่ได้แบกราวบันไดมาด้วย...ฉันใดก็ฉันนั้น

เราไม่สามารถปล่อยวางได้ ถ้าไม่มีสิ่งให้ยึดเกาะ เราต้องรู้จักยึดก่อนถึงจะรู้จักวาง พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเอาไว้ว่า เหมือนกับแม่ลูกลงไปงมจับปลา ลูกชายจับได้หัวงูกำไว้แน่นเลย “แม่ ๆ ได้ปลาตัวเบ้อเร่อเลย” แม่ คือครูบาอาจารย์เห็นเข้าก็

“เออ...ดีไอ้หนู ลูกกำให้แน่น ๆ เดี๋ยวมันจะหลุดไป” เพื่อไม่ให้ลูกตกใจ แล้วพอเสร็จแล้วลูกกำแน่นดีแล้ว

“ไอ้หนูขึ้นฝั่งไปลูก เสร็จแล้วดึงหางมันออกมาสลัดมันไปไกล ๆ เลยลูก” พอลูกเหวี่ยงทิ้งไปเสร็จเรียบร้อยแล้วก็บอก

“นั่นงูพิษนะลูก คราวหน้าอย่าไปจับมัน” ถ้าไม่กำให้แน่นตายไหมตอนนั้น ?...ตาย...ไม่เหลือหรอก...ก็ลักษณะเดียวกัน เพราะฉะนั้น..เราต้องยึดก่อน หลังจากนั้นแล้วจึงปล่อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น